เต๋าโลหรือเตาอั้งโล่เป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้รับความนิยมในการใช้หุงต้มประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในชุมชนชนบท ด้วยความเชื่อที่ว่าการประกอบอาหารด้วยเตาถ่านนั้นให้รสชาติที่อร่อยกว่าการใช้เตาแก๊ส อีกทั้งยังประหยัดเพราะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลคือ ฟืน หรือถ่าน ที่หาได้ทั่วไปและมีราคาไม่แพง ทสาให้ในชนบทแทบทุกครัวเรือนต้องมีเตาอั้งโล่บ้านละอย่างน้อย 1 ลูก ถือเป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยที่มีมาอย่าง ยาวนาน ด้วยความนิยมใช้เตาอั้งโล่นี้ จึงทสาให้มีการตัดไม้สสาหรับมาทสาฟืนและถ่านจสานวนมาก ดังนั้นตามนโยบายของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน จึงได้มีการพัฒนาเตาอั้งโล่ในอดีตเป็นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ หรือเตาหุงต้มที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 30% กักเก็บพลังงาน ความร้อนได้ดีเพราะมีฉนวนกันความร้อน อีกทั้งยังมีรูปร่างเพรียวสวยงาม ทนทาน วัสดุมีในการผลิตมีคุณภาพดี จุดไฟติดเร็วขึ้น ไม่มีควันและก๊าซพิษที่ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ประหยัดเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งก็คือฟืนและถ่านได้เป็นอย่างดี และมีอายุการใช้งานเฉลี่ยสูงกว่าเตาอั้งโล่แบบเดิม 2 ปี จึงเหมาะสสาหรับ การประกอบอาหารในระดับครัวเรือนและร้านค้าที่ประกอบอาหารจสาหน่ายในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ด้วยแนวโน้มความนิยมใช้เตาซุปเปอร์อั้งโล่นี้ จะส่งผลให้มีความต้องการใช้ชีวมวลสสาหรับนสามาเป็นเชื้อเพลิงมากขึ้น ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงก๊าซหุงต้มที่ใช้ กับเตาแก๊ส ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการผลิตชีวมวล เพื่อเป็นพลังงานทดแทน ให้เหมาะสมกับการใช้งานในภาคครัวเรือนในอนาคต ด้วยเหตุนี้ในรายวิชา พง 311 เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล และรายวิชา พง 522 วิศวกรรมพื้นฐานชีวมวลและชีวภาพ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเปลี่ยนรูป ชีวมวล การทดสอบและปฏิบัติงานพลังงานชีวมวล จึงได้จัดกิจกรรมการสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการพัฒนาเต๋าโล (อั้งโล่) ประสิทธิภาพสูงเพื่อลด โลกร้อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขึ้นซึ่งกิจกรรมนี้จะเป็นการนสาเอาปราชน์ท้องถิ่นสมัยใหม่ที่มีองค์ความรู้การปั้นเตาอังโล่มาถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมกิจกรรม ปั้นเตาอังโล่ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นระยะเวลาดสาเนินการ 5 สัปดาห์ ใช้ชั่วโมงการปฏิบัติในรายวิชาร่วมกับเวลาว่างของนักศึกษาและได้ ผลผลิตเตาอังโล่สสาหรับการนสาไปใช้งานในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มากกว่า 20 ลูก ผลการดสาเนินกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักรู้ซึ้งถึงคุณค่าภูมิปัญญา วัฒนธรรมของบรรพบุรุษที่มีแต่เก่าก่อน โดยมองการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนการสอดแทรกแนวคิดวัฒนธรรมและมิติของทางด้านความเป็น มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ ในรูปแบบการรณรงค์ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการลดโลกร้อนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้รวมอยู่ด้วย ขณะเดียวกันในด้าน การเรียนการสอนนักศึกษาสามารถบูรณาการแนวคิดการใช้ใช้ชีวมวลในรูปแบบพลังงานใกล้ตัว เป็นแนวทางในการลดการใช้แก๊สหุงต้ม (LPG) สสาหรับ ประกอบอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มของราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีอาชีพด้านเกษตรกรรม ผลผลิตที่เหลือใช้จากการเกษตรมีปริมาณสูงยกตัวอย่างเช่น แกลบ ฟางข้าว ข้าวโพดและเศษไม้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการจัดการ วัสดุเหล่านี้โดยการเผา ซึ่งผลที่ตามมาจะทสาให้เกิดปัญหาเรื่องฝุ่น เขม่า และหมอกควัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ดังนั้น ถ้าหากมีเทคโนโลยีที่สามารถนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลังงานแล้วสามารถนำไปใช้ทดแทนแก๊สหุงต้มก็จะส่งผลให้ชุมชนสามารถล รายจ่ายเรื่องแก๊สหุงต้มและลดปัญหาการเกิดหมอกควันในชุมชนได้ สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ในระยะ 15 ปี (พ.ศ.2555-2569) “เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างความสมดุล เคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมและความดีงาม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน” ที่มี เป้าหมายหลักของการพัฒนาเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ที่ให้ความสำคัญของการเกษตร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเพณีและวัฒนธรรมที่ดี งาม เท่าทันโลกของความเป็นจริง ตามทันและรู้ทันการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และมีธรรมาภิบาล
- Post author:admin
- Post published:3 กรกฎาคม 2019
- Post category:ข่าวกิจกรรม