หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)

 รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูในเวบตามลิงค์นี้ : 

ลักษณะทั่วไปของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมการฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตรโดยผู้สมัครต้องจบระดับ ปวส. สาขาวิชาด้านช่างอุตสาหกรรม หลักสูตรมีระยะเวลาเรียน 2 ปี แบบต่อเนื่อง

ปรัชญาและความสำคัญของหลักสูตร

บัณฑิตสาขาฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร เป็นบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน สหวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนางานอุตสาหกรรมของประเทศภายใต้ความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของโลก สามารถประกอบการอิสระเป็นผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ ได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ จนสามารถการเกษตรและนวัตกรรมเพื่อการเกษตร เพื่อการจัดการการผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทำไมต้องเรียน...ต่อเนื่อง... วิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน (ต่อเนื่อง) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีด้านฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตรทีมีทักษะและความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติการ ความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและความรักในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอิสระ กล้าลงทุน กล้าเสี่ยงและกล้าประกอบกิจการทางธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างมีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพมีความรับผิดชอบต่อสังคมและดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

  ทักษะที่ได้จากเรียนวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน

  • พัฒนาแนวคิดสร้างสรรค์เชิงวิศวกรรม นักเทคโนโลยี และการออกแบบเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ทักษะและการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ และการบริหารจัดการโครงการ
  • ทักษะด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การนำเสนอ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • การเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ความใฝ่รู้นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร

      เรียนจบสามารถประกอบอาชีพด้านไหนบ้าง?

  • นักธุรกิจหรือเจ้าของธุรกิจฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • เกษตรกรที่ใช้หลักการของการทำฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ผู้จัดการด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ช่างฝีมือด้านการเกษตรอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
  • นักวิชาการ นักวิจัย และนักพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
  • นักวิชาการในหน่วยราชการ
  • นักวิเคราะห์และวางแผนการจัดการการทำเกษตรอย่างอัจฉริยะ
  • ผู้ประกอบการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับธุรกิจฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร
6v

เอกสารของหลักสูตร

g3

ติดต่อประสานงานประธานหลักสูตร

  • รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล เบอร์ติดต่อ 081-9519232

เจ้าหน้าที่หลักสูตร

  • นายภูศรัณย์ ศิรพันธ์ตรี     โทรศัพท์ : 053-875593