หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทน

ลักษณะทั่วไปของหลักสูตร​

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 (ข้อ 12.4) และให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง เกณฑ์การสอบผ่านความรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ประกาศใช้ในขณะนั้น และผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

หลักสูตรระดับปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 และ 2.1 มีระยะเวลาของการศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี และให้ศึกษาได้ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
          ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทที่มีวิทยานิพนธ์หรือการเรียนรู้อิสระในกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ กลุ่มสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.50 จากระบบ 4.00 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า กรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 3.50 แต่มีคุณสมบัติที่เห็นควรให้เข้าศึกษาได้ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
          ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทในกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ กลุ่มสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้ขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

          สำหรับผู้สมัครทั้งหลักสูตร แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 ที่เป็นชาวต่างชาติต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ปรัชญาและความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ แสวงหาองค์ความรู้ใหม่และก่อให้เกิดนวัตกรรมพลังงานทดแทน เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์พลังงานของประเทศและโลกตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน และสอดรับกับการขับเคลื่อนด้านพลังงานของประเทศตามแนวนโยบาย Energy 4.0 สอดรับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล และตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบสิ่งแวดล้อม

งานวิจัยด้านวิศวกรรมพลังงานทดแทน

  • ระบบการจัดการพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  • ระบบสมาร์ทฟาร์มและการจัดการด้านพลังงานในภาคเกษตรกรรรม
  • ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากวัฏจักรแรงคิน หรือ Organic Rankine Cycle (ORC)
  • ระบบอบแห้งแบบอัจฉริยะโดยใช้พลังงานความร้อน และระบบฮีตปั๊ม
  • ระบบผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์ และการประยุกต์งานด้านความร้อน
  • การประยุกต์ระบบพลังงานความร้อน และระบบปรับอากาศในงานอุตสาหกรรม
  • ระบบเชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงชีวมวลจากภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

งานวิจัยด้านวิศวกรรมพลังงานทดแทน

  • ระบบการจัดการพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  • ระบบสมาร์ทฟาร์มและการจัดการด้านพลังงานในภาคเกษตรกรรรม
  • ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากวัฏจักรแรงคิน หรือ Organic Rankine Cycle (ORC)
  • ระบบอบแห้งแบบอัจฉริยะโดยใช้พลังงานความร้อน และระบบฮีตปั๊ม
  • ระบบผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์ และการประยุกต์งานด้านความร้อน
  • การประยุกต์ระบบพลังงานความร้อน และระบบปรับอากาศในงานอุตสาหกรรม
  • ระบบเชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงชีวมวลจากภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

เครือข่ายความร่วมมือ

  • เครือข่ายมหาวิทยาลัยประเทศไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • เครือข่ายผู้ประกอบการพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และภาคอุตสาหกรรม
  •  KunMing Dian Yan New Energy Technology Development CO.,LTD.
  • บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด
  • บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)

เอกสารหลักสูตร

คณะกรรมการหลักสูตร

  • รศ.ดร.นัฐพร ไชยญาติ  กรรมการหลักสูตร
  • ผศ.ดร.ชูรัตน์ ธารารักษ์ กรรมการหลักสูตร
  • ผศ.ดร.ธเนศ ไชยชนะ กรรมการหลักสูตร

เจ้าหน้าที่หลักสูตร

  • คุณกมลดารา เหรียญสุวรรณ   e-mail: kamoldara@mju.ac.th  
  • โทรศัพท์ 053-875596