วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อ The 3rd International Conference on Renewable Energy, Sustainable Environmental and Agri-Technological Innovation (i-RESEAT 2021) ในรูปแบบ online และ onsite โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ และ Dr. Rameshprabu Ramaraj ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ กล่าวรายงาน ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้อง 80-201 อาคารเรียนรวม 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมทั้งถ่ายทอดสดทาง https://www.youtube.com/watch?v=tJhteFG_Gnc
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้เป็นงานเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เทคโนโลยีด้านการเกษตรและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมมือกับ Kaohsiung Medical University ประเทศไต้หวัน และ University of Stavanger ประเทศนอร์เวย์ และอื่นๆ อีกหลายประเทศ
ด้าน Dr. Rameshprabu Ramaraj ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการจัดงานฯ ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงานทดแทน คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะศิลปศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดขึ้นเพื่อร่วมส่งเสริมให้บุคลากร นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งในและต่างประเทศได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนสร้างความ ร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผลงานที่นำเสนอมีโอกาสได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับ ISI อีกด้วย ซึ่งในครั้งนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมจำนวน 200 ผลงาน จากทุกทวีป 28 ประเทศทั่วโลก”
นอกจากการนำเสนอผลงานวิชาการแล้วยังได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการในระดับนานาชาติในประเด็นที่น่าสนใจ เช่น
– ของเสียสู่ของมีค่า: การนำทรัพยากรกลับมาใช้อย่างยั่งยืน (Waste to Wealth: Resource Recovery & Sustainability) โดย Dr. Ashok Pandey บรรณาธิการวารสาร Bioresource Technology ระดับ Q1 มี Impact factor 9.462
– กระบวนการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงของแข็ง (Combustion of Solid Biofuels) โดย Dr. Martin Kaltschmitt บรรณาธิการวารสาร Biomass Conversion and Biorefinery ระดับ Q1 มี Impact factor 4.987
-ผลิตภัณฑ์ชีวภาพและโภชนาการจากสาหร่าย (Bioproducts and nutrition from algae) โดย Dr. Yusuf Chisti ผู้เชี่ยวชาญด้านสาหร่ายอันดับ 1 ของโลก มีผลงานวิชาการได้รับการอ้างอิงมากกว่า 50,000 ครั้ง
โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเยี่ยมชมนิทรรศการได้ที่ ห้องประชุม 80-201 อาคารเรียนรวม 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กิจกรรมในครั้งนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของงานวันเกษตรแม่โจ้ออนไลน์ 2564 Kaset Fair @Maejo 2021 >>Next normal “นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน” (วิถีใหม่) Smart Agricultural Innovation for Sustainability ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 – 29 ธันวาคม 2564 อีกด้วย
แหล่งข้อมูล : https://erp.mju.ac.th/informationDetail.aspx?newsId=4411&lang=th